วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555



• คนที่ทำให้เจ็บใจ คือเขา
คนที่เอาเขามาใส่ใจ คือคุณ 

• คุณอาจโกรธโดยไม่ตั้งใจ
แต่ไม่มีทางอภัยโดยบังเอิญ

• การอภัยเป็นอะไรมากกว่าการแกล้งลืมครับ
มันคือการยกเอาโทษออกจากใจเราเอง
พอใจพ้นโทษจริง ก็พบความสุขแท้นะ

• ความรู้สึกดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน
โดยเฉพาะตอนเอาชนะความเกลีย
และตอนเลิกถือสาหาความใครต่อใคร
เอาความเปรอะเปื้อนออกจากใจเสียได้

• นิสัยไม่อยากเอาเรื่องเอาราวใคร
ทำให้คุณไม่ต้องเหนื่อยทำใจนักเมื่อต้องอภัย
แต่คุณก็จำเป็นต้องฝึกอภัยไว้มาก
กว่าจะสร้างนิสัยไม่อยากเอาเรื่องเอาราวใครได้เป็นปกติ

• เวรที่ยืดเยื้อ
เริ่มต้นจากเวรที่อภัยได้แล้วไม่อภัย

.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

• ก่อนอื่นต้องมองว่า
ตอนใครทำให้คุณเจ็บช้ำน้ำใจมากๆนั้น

: คือรูปแบบหนึ่งของการโดนทวงหนี้
เมื่อมองอย่างนี้คุณจะเต็มใจให้อภัย
และทราบชัดจากความเบาหัวอก
ว่าหนี้เก่าถูกชำระแล้ว
อาจต้องผ่อนส่งหลายครั้ง
หรืออาจเหมารวบเบ็ดเสร็จในครั้งเดียว

• สรุปคือเมื่อถูกทำให้แค้น
แล้วไม่คิดแก้แค้น
เรียกว่าเป็นการใช้หนี้

.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

• การอภัยไม่ต้องเสียอะไรเพิ่

: การจองเวรสิต้องเสียยิ่งกว่าเดิมไม่รู้เท่าไหร่
ทั้งเวลา ทั้งกำลังกายกำลังใจ
บุญบาปทำหน้าที่อยู่แล้ว
เราปล่อยเขาไปตามทางที่เขาสร้างเอง
เดินเอง และเสวยผลเองน่ะดีที่สุด
ถ้าผูกใจเจ็บก็เท่ากับ
พลอยกระโจนไปร่วมรับบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง
บนเส้นทางของเขาด้วย

.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

• อย่าเอาแต่สวดแผ่เมตตา
ให้ทำใจเป็นเมตตาด้วยความเข้าใจกันด้วย
ความเข้าใจนั่นแหละ
ที่ทำให้คนเรา อภัยได้จริง
ความเข้าใจนั่นแหละ
ที่ช่วยให้เรายัง มองหน้ากันได้ติด
และความเข้าใจนั่นแหละ
ที่จะยุติเรื่องเลวร้าย

• ให้อภัยคนเลวหมดใจ
แล้วจะรู้สึกว่าต้องไปเกี่ยวข้องกับคนเลวน้อยลง

- ดังตฤณ -
http://www.facebook.com/AskDungtrin
" ตัดเวรตัดกรรม "

พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ใครทำกรรมใดไว้
ได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า

กรรมใดใครก่อลงไปแล้ว ใจเป็นผู้จงใจ
คือ เจตนาที่ทำลงไป พอทำลงไปแล้วกรรมอันเป็นบาป

ต่อเมื่อภายหลัง เรามานึกว่าเราไม่ต้องการผลของบาป
มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได
เพราะใจเป็นผู้สั่งให้ กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
ใจตัวนี้ต้องรับผิดชอบโดยความเป็นธรรม โดยหลักของธรรมชาติ

เพราะฉะนั้น การที่เราจะไปทำพิธีตัดกรรม
นี่หมายถึง ตัดผลของบาป มันตัดไม่ได้ อย่าไปเข้าใจผิด
ถ้าหากพระองค์ใดแนะนำว่า
ทำบาปแล้วตัดกรรมได้ อย่าไปเชื่อ

ขอให้พุทธบริษัททั้งหลาย จงปลูกฝังนิสัยให้เด็กของเร
ในข้อนี้เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่สุด
ถ้าเด็กๆ ของเราไปเข้าใจว่า ทำบาปทำกรรมแล้วไปทำพิธีตัดกรรม
แล้วมันหมดบาป ประเดี๋ยวเด็กๆ มันทำบาปแล้วไปหาหลวงพ่อ
หลวงพี่ ตัดบาปตัดกรรมได้ มันก็ไม่เกิดความกลัวต่อบาป
เพราะฉะนั้น อย่าไปเข้าใจผิดว่า
ทำกรรมอันเป็นบาป แล้วตัดกรรมให้มันหมดไป
มันเป็นไปไม่ได้ แต่ตัดเวรนี่มีทาง

เพราะ เวร หมายถึง การผูกพยาบาทอาฆาต
คอยแก้แค้นกันอยู่ตลอดเวลา
อย่างเราฆ่าเขาตาย บางทีนึกถึงบาปกรรม
กลัวว่าเขาจะอาฆาตจองเวร
เราทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เขา
ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศลจากเรา เขาได้รับความสุข
เขาเลื่อนฐานะจากภาวะที่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข
เขานึกถึงคุณงามความดี ถึงบุญถึงคุณของเรา
เขาก็อโหสิกรรมให้แก่เรา ไม่ตามล้างตามผลาญกันอีกต่อไป
หรืออย่างเช่น เราอยู่ด้วยกันทำผิดต่อกัน
เมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้ว
เราขอโทษซึ่งกันและกัน
ต่างฝ่ายต่างยกโทษให้กัน
เวรที่จะตามมาคอยจองล้างจองผลาญกันมันก็หมดสิ้นไป
แต่ผลกรรมที่ทำผิดต่อกันนั้นมันไม่หายไปไหนหรอก

บาปที่ทำแล้วมันแก้ไม่ได้
แต่นิสัยชั่วที่เราประพฤติอยู่นั้น มันแก้ไขได้
ท่านให้แก้กันที่ตรงนี้

หนังสือฐานิยปูชา 80 ปี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย